อดีตนายกมีความเหมือนคล้ายคลึงกัน และมีชะตากรรมใกล้เคียงกันทั้งสองท่าน เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย และต่อต้านเผด็จการอำมาตย์ แต่สุดท้ายลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ของให้นักประชาธิปไตยพิจารณาดูด้วยความเป็นธรรม อาจเห็นเหมือนกรวุฒิหรือเห็นต่างแล้วแต่มุมมอง ทั้งสองท่านคือ ท่านปรีดีย์ พนมยงค์ และท่านทักษิณ ชินวัตร

1. กำเนิด
 1.1 ท่านปรีดีย์ พนมยงค์ เป็นลูกชาวนา มีอาชีพทำนาที่จ.พระนครศรีอยุธยา
 1.2 ท่านทักษิณ ชินวัตร เป็นลูกพ่อค้า ค้าขายตั้งแต่เด็กที่จ.เชียงใหม่
ทั้งสองท่านเป็นคนต่างจังหวัด

2. การศึกษา
 2.1 ท่านปรีดีย์ พนมยงค์ ศึกษาด้านกฏหมาย เป็นเนติบัณฑิต ได้ทุนไปศึกษาด้านนิติศาสตร์ ที่ประเทศฝรั่งเศส จบปริญญาเอก
 2.2 ท่านทักษิณ ชินวัตร จบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีปริญญาบัตร รัฐประสานสนศาสตร์ จบปริญญาเอกด้าน อาชญวิทยาประเทศสหรัฐอเมริกา

3. ด้านครอบครัว
 3.1 ท่านปรีดีย์ พนมยงค์ สมรสกับท่านผู้หญิงพูนศุข ณ ปอมเพชร์
 3.2 ท่านทักษิณ ชินวัตร สมรสกับคุณหญิงพจมาณ ดามาพงศ์ (คุณแม่คุณหญิงพจมาณ ถ้าจำไม่ผิดนามสกุล ณ ปอมเพชร์ ถ้าไม่ใช่กรวุฒิขออภัย)

4. ด้านการเมือง
 4.1 ท่านปรีดีย์ พนมยงค์ เป็นหนึ่งในคณะราษฎร์ เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากสมบูรณญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ 24 มิ.ย. 2475 ก้าวสู่จุดสูงสุด เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบุรุตอาวุโส โดยได้รับการโปรดเกล้าจากรัชกาลที่ 8 เมื่อ 8 ธ.ค. 2488
 4.2 ท่านทักษิณ ชินวัตร เป็นนักประชาธิปไตย ต่อสู้เผด็จการอำมาตย์จนเป็นขวัญใจของประชาชนชาวรากหญ้า ก้าวสู่จุดสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรีสองสมัย เป็นนายกคนแรกที่อยู่ครบเทอมสี่ปี เป็นรัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย

5. การลี้ภัยการเมือง
 5.1 ท่านปรีดีย์ พนมยงค์ ครั้งแรกเสนอสมุดปกเหลือง เค้าโครงเศรษฐกิจต่อรัฐบาล ให้ราษฎรได้รับการประกันสังคม ถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกบังคับออกนอกประเทศ ลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส  ครั้งที่ 2 สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี ถูกข้อหาลอบปลงพระชนม์ซึ่งเป็นข้อหาหนักหนาสาหัส ลี้ภัยไปฝรั่งเศสและถึงแก่อาสัญกรรมที่นั่น วิบากกรรมนี้ก่อนตายท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เขียนพินัยกรรมไว้ "ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น"
 5.2 ท่านทักษิณ ชินวัตร ถูกปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย. 2549
 ขณะไปประชุมที่ UN ประเทศสหรัฐอเมริกา กลับประเทศไม่ได้ ข้อหาที่หนักหนาคือ ไม่จงรักษ์พรรคดี กลับประเทศเพื่อมาต่อสู้คดี แต่เห็นว่าคงไม่ได้รับความเป็นธรรมจากขบวนการยุติธรรม ขณะไปร่วมพิธีเปิดโอลิมปิคตามคำเชิญของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตัดสินใจไม่กลับเข้าประเทศอีกเลยจนทุกวันนี้

ที่กรวุฒิเทียบเคียงให้ดูวิบากกรรมนักประชาธิปไตยทั้งสองท่านที่เป็นขวัญใจประชาชน ต่อสู้กับเผด็จการ อำมาตย์ แต่ชะตากรรมไม่ต่างกันนัก ถ้ากรวุฒิจะขออาจเอื้อมยกย่องท่านทั้งสองเป็นนักประชาธิปไตยผู้ยิ่งใหญ่คงไม่เกินจริงนะครับ


0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก: ส่งความคิดเห็น (Atom)